ธงสมาชิกอาเชี่ยน

ธงสมาชิกอาเชี่ยน
สมาชิกอาเชี่ยน

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

การแต่งกายประจำชาติ บรูไน (Brunei)


การแต่งกายประจำชาติ บรูไน (Brunei) หรือ

รัฐบรูไนดารุสซาลาม
(State of Brunei Darussalam)

 
 

การแต่งกายประจำชาติ บรูไน (Brunei)

ชาย สวมเสื้อแขนยาว คอปิด กระดุมผ่าหน้าถึงหน้าอก สวมหมวกหรือมีผ้าพันศีรษะ กางเกงขายาว โดยให้สีเสื้อและกางเกงเป็นสีเดียวกัน มีผ้าพันรอบเอว เป็นผ้ายกดิ้นหรือผ้าพื้น โดยนุ่งพับมาด้านหน้าทั้งสองพับ
 
ชุดแต่งการชายบรูไน
 
 

หญิง สวมเสื้อแขนยาว อกเสื้อผ่าหน้า ความยาวของตัวเสื้อคลุมสะโพกลงไป สวมผ้าคลุมศีรษะอย่างสตรีชาวมุสลิมทั่วไป กระโปรงยาวมิดชิด เครื่องประดับก็จะมีมงกุฎเพื่อเพิ่มความสวยงามอีกได้

 
ชุดแต่งการสาวบรูไน
 
 

ชุดแต่งงานของสาวบรูไน (Brunei)
 
 
 

 
 
 
 
 
ขอบคุณรูปสวยๆ จาก "pOstjung"

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การแต่งกายประจำชาติไทย (Thailand)

การแต่งกายประจำชาติไทย
(Thailand)






"การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี"


การแต่งการไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดีในบทนี้ได้อ้างอิงการจัดแบ่ง ลำดับเครื่องแต่งกายตามเอกสารทางวิชาการสมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกายตามสมัย "ประวัติศาสตร์และโบราณคดีของกรมศิลปากรเนื่องในงานฉลองครบรอบ 20 ปี สภาการ พิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (2511) โดยจัดแบ่งลำดับออกเป็น 7 สมัย (กรมศิลปากร, 2511: 3) ดังต่อไปนี้

1.สมัยทวารวดี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16
2. สมัยศรีวิชัย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13 - 18
3. สมัยลพบุรี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16 – 19
4. สมัยเชียงแสน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17 – 25
5. สมัยสุโขทัย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 – 20
6. สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 – 2310
7. สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2310 – รัชกาลปัจจุบัน

สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16)
ทวารวดี เป็นอาณาจักรที่นักโบราณคดีเรียกดินแดนระหว่างศรีเกษตร(ประเทศพม่า) และอิศานปุระ (ประเทศกัมพูชา) (คณะอนุกรรมการแต่งกายไทย, 2543: 64) มีศูนย์กลางอยู่ บริเวณลุ่มแม่นำเจ้าพระยาตอนล่างเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ที่มีประชาชนนับถือศาสนาพุทธ และฮินดู ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรมและการแต่งกายจากอินเดียเข้ามาผสมกับอารย ธรรมพื้น เมืองของตนจนมีความเจริญก้าวหน้า(โอม รัชเวทย์, 2543: 4) ลักษณะของการแต่งการ ได้บ่งบอกถึงฐานะของผู้คน เป็นตันว่า พระเจ้าแผ่นดินนุ่งผ้ายกดอกได้ ขุนนางธรรมดาใช้ได้แต่ ผ้ายกดอกสองชาย ส่วนราษฎรสามัญจะใช้ผ้ายกดอกได้แต่ผู้หญิงเท่านั้น (คณะอนุกรรมการแต่ง กายไทย, 2543: 64) อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานแสดงให้เห็นถึงการแต่งการของคนในสมัยทวาร วดี ปรากฎอยู่บนงานปฎิมากรรมต่างๆเช่นที่ พระเจดีย์จุลประโทน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ขุดพบภาพสลักลายเส้นบนแผ่นหินเป็นรูปเจ้านายชั้น สูงไม่สวมเสื้อ นุ่งโจงกระเบน รอบตัวมีหม้อน้ำ หอยสังข์ เงินตราและดาว (โอม รัชเวทย์, 2543: 4) ส่วนลักษณะการแต่งกายโดยทั่วไปมีดังนี้
ลักษณะการแต่งกายของหญิง
ผม ทำผมเกล้ามวย หรือถักเปียเป็นจอมสูงเหนือศีรษะ ใช้ผ้าสลับสีรัดเกล้าไว้ตรงกลาง แล้วปล่อยชายผมลงมาหรือเกล้าแล้วรัดเกล้าไว้ไม่ปล่อยชายผมหรือถักเปียเป็นจอมสูงเหนือ ศีรษะรัดตรงกลางให้ตอนบนสยายออก
เครื่องประดับ ต่างหูเป็นแผ่นกลม หรือเป็นห่วงกลม สายสร้อยทำเป็นแผ่นทับทรวงรูป สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเป็นลวดลายนก ต้นแขนประดับด้วยกำไลเล็ก ๆ ทำด้วยทองคำสำริด และ ลูกปัดสีต่าง ๆ สวมกำไลมือหลายเส้น
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าซิ่นจีบพื้น หรือลวดลาย ย้อมสีกรัก (สีจากแก่นขนุน) ทบซ้อนกัน ข้างหน้าทิ้งชายแนบลำตัว ไม่สวมเสื้อ ห่มผ้าสะไบเฉียงบ่าซ้ายไพล่มาข้างขวา เป็นผ้า ฝ้ายบางจีบไม่สวมรองเท้า
ลักษณะการแต่งกายของชาย
ผม ถักเปียเป็นหลอดยาวประบ่า หรือเกล้าสูงรัดด้วยผ้า หรือเครื่องประดับแล้วปล่อย ชายผมกลับลงมา เกล้าเป็นจุกก็มี
เครื่องประดับ ใส่กรองคอ กำไลแขน ต่างหู เข็มขัดโลหะคาดเอว
เครื่องแต่งกาย มีผ้าเฉลียงบ่าบาง ๆ นุ่งผ้าจีบชายผ้าด้านหน้าทิ้งลงไปคล้ายผ้าถุงครึ่ง แข้ง ชายขมวดทิ้งลงไปข้างซ้าย คาดเข็มขัด ไม่สวมเสื้อ

การแต่งกายสมัยทวาราวดี
ภาพเขียนเลียนแบบจากกรมศิลปากร (2511: 9)

การแต่งการตามแบบสมัยทวารวดี




สมัยศรีวิชัย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13 – 18
"ศรีวิชัย เป็นรัฐที่เกิดขึ้น ทางภาคใต้ โดยถูกอิทธิพลจาก รัฐฟูนันประเทศจีนที่เคยมี อำนาจควบคุมทะเลจีนใต้ นอกจากนี้รัฐศรีวิชัยยังตั้งอยู่ในทำเลค้าขายที่สำคัญโดยมีการค้า ขายกับจีน อินเดียและประเทศในตะวันออกกลาง (คณะอนุกรรมการแต่งกายไทย, 2543: 74) ดังนั้น การแต่งกายของคนสมัยศรีวิชัย จึงได้รับอิทธิพลด้านการใช้ผ้าจากจีน และเครื่องประดับ จากชาวอินเดีย (คณะอนุกรรมการแต่งกายไทย, 2543: 79-80)
ลักษณะการแต่งกายของหญิง
ผม
เกล้ามวยสูงทำเป็นพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ สวมกลีบรวบด้วยรัดเกล้า ปล่อยชายปรกลง มาด้านหน้า บางทีมุ่นมวยเป็นทรงกลมเหนือศีรษะใช้รัดเกล้าเป็นชั้น ๆ แล้วปล่อยชายผมลงประบ่า ทั้ง 2 ข้าง หรือถักเปีย
เครื่องประดับ ประดับด้วยรัดเกล้า ตุ้มหูแผ่นกลมเป็นกลีบดอกไม้ ใส่กรองคอทับทรวง ใส่กำไรต้นแขนทำด้วยโลหะ หรือลูกปัดร้อยเป็นพวงอุบะ ใส่กำไลมือและเท้า
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าครึ่งแข้งปลายบานยกขอบ ผ้าผืนเดียวบางแนบเนื้อคล้ายผู้ชาย ขอบผ้าชั้น บนทำเป็นวงโค้งเห็นส่วนท้อง คาดเข็มขัดปล่อยชายผ้าลงทางด้านขวา

การแต่งกายของหญิงสมัยศรีวิชัย
ภาพเขียนเลียนแบบจาก กรมศิลปากร (2511: 26)

ลักษณะการแต่งกายของชาย
ผม
เกล้ามวยเป็นกระพุ่มเรียงสูง ด้วยเครื่องประดับ ปล่อยปลายผมสยายลงรอบศีรษะ เป็นชั้น ๆ บางทีปล่อยชายผมชั้น ล่างสยายลงประบ่า
เครื่องประดับ ใส่ตุ้มหูเป็นเม็ดกลมใหญ่ คล้องสายสังวาลย์ คาดเข็มขัดโลหะใส่กำไล แขนและข้อมือ
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าชายพกต่ำ ปล่อยชายย้อยเป็นกระหนก คาดเข็มขัดโลหะ


การแต่งกายของชายสมัยศรีวิชัย
ภาพเขียนเลียนแบบจากกรมศิลปากร (2511: 20, 24)

การแต่งกายแบบสมัยศรีวิชัย

สมัยลพบุรี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16 – 19
เมือง “ลวปุระ” หรือ “ละโว้” หรือ “ลพบุรีเคยเป็นเมืองสำคัญมาแต่สมัยรัฐทวารวดีเมื่อครั้ง อำนาจของรัฐทวารวดีในดินแดนภาคกลางของประเทศไทยเสื่อมลงไปแล้ว ละโว้จึงได้ปรับเปลี่ยน คตินิยมไปเป็นแบบขอม(คณะอนุกรรมการแต่งกายไทย, 2543: 86) ดังนั้น ศิลปะลพบุรีได้รับ รูปแบบมาจากศิลปะของขอมเป็นส่วนใหญ่ รูปหล่อสำริดที่มีอยู่เป็นจำนวนมากสะท้อนให้เห็นถึง การแต่งกายของชาวลพบุรีที่รับเอาวัฒนธรรมมาจากขอม (โอม รัชเวทย์, 2543: 22) ลักษณะการ แต่งกายสมัยลพบุรีโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง
ผม
ผมแสกกลาง ตอนบนมุ่นเป็นมวย ปักด้วยปิ่นยอดแหลม

เครื่องประดับ สวมกำไลต้นแขน ข้อมือทั้ง 2 มีปิ่น เข็มขัดมีลวดลาย สวมเทริดที่ ศีรษะมีกรองคอทำลวดลายเป็นแผ่นใหญ่ ตุ้มหูทำเป็นหัวเป็ดคว่ำ
เครื่องแต่งกาย ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าให้ชายซ้อนกันตรงหน้า แล้วปล่อยชายออก 2 ข้าง เป็นปลี บางทีปล่อยชายยาวลงถึงสะโพกทั้งขวาและซ้าย เป็นชายไหว คาดเข็มขัด ปลายทำเป็น พู่คล้ายกรวยเชิงห้อยเรียงเป็นแถว ไม่สวมรองเท้า


ภาพเขียนเลียนแบบจากกรมศิลปากร (2511: 39, 41, 42)
ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย
ผม เกล้าผมเหนือศีรษะ
เครื่องประดับ คาดเข็มขัดหัวเข็มขัดผูกเป็นปมเงื่อนแบบสอดสร้อย ใส่ตุ้มหู กรองคอ เป็นเส้นเกลี้ยง ซ้อนกัน 2 ชั้น ตรงกลางทำเป็นลวดลายดอกไม้เม็ดกลม ๆ ซ้อนกัน สวมกำไลต้นแขน ข้อมือ และเท้า

เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าถุงสูง ขวาทับซ้ายแล้วทิ้งชายเป็นกาบใหญ่ คาดเข็มขัด นุ่งสั้น เหนือเข่าทิ้งชายพกออกมา ข้าหน้าเป็นแผ่นใหญ่ ไม่สวมรองเท้า
ภาพเขียนเลียนแบบจากกรมศิลปากร (2511: 37-38)


การแต่งกายตามแบบสมัยลพบุรี

สมัยเชียงแสน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 – 24)
เชียงแสน ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันนักวิชาการนิยมเรียกรัฐ เชียงแสนว่า รัฐล้านนา ซึ่งมีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นแบบหนึ่งโดยเฉพาะ (คณะอนุกรรมการ แต่งกายไทย, 2543: 91) เชียงแสนมีดินแดนต่อกับดินแดนทางภาคเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ชาวเชียงแสนมีความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการต่างๆ โดยได้รับอิทธิพลทางศิลป จากอินเดียสมัยราชวงศ์ปาละ ผ่านทางมาทางประเทศพม่า และได้พัฒนาให้มีลักษณะของตัวเอง จนกลายเป็นรูปแบบของศิลปไทยแท้ในยุคแรก มีหลักฐานกล่าวถึงผ้าหลายชนิดทั้งที่ทอขึ้น เป็น ของตัวเองและทอขึ้น เพื่อเป็นสินค้าขายให้แก่อาณาจักรใกล้เคียง เช่นผ้าสีจันทร์ขาว ผ้าสีจันทร์ แดง ผ้าสีดอกจำปา แสดงว่ามีการย้อมสีจากธรรมชาติ (โอม รัชเวทย์, 2543: 40) ทางด้านการ แต่งกายจึงเป็นการแต่งกายเป็นการผสมผสานระหว่าง พม่า และขอมลักษณะการแต่งกาย โดยทั่วไปมีดังนี้
ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง
ผม
ผมทรงสูง เกล้าผมไว้ตรงกลาง
เครื่องประดับ สวมเครื่องประดับศีรษะ มีรัดเกล้า สวมสร้อยสังวาล รัดแขน กำไลมือ กำไลเท้า ใสตุ้มหู
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าถุงยาวแบบต่ำที่ระดับใต้สะดือ มีผ้าคาดทิ้งชายยาว ปล่อยชาย พกห้อยออกมาที่ด้านหน้าเป็นแฉก ไม่สวมเสื้อ มีสไบแพรบางสำหรับรัดอกให้กระชับขณะทำงาน

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย
ผม
ไว้ผมทรงสูง สวมเครื่องประดับศีรษะ
เครื่องประดับ สวมกรองคอ สร้อยสังวาล กำไลมือ และกำไลเท้า
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าสองชาย จับจีบลงมาเกือบถึงข้อเท้า ด้านหน้าซ้อนผ้าหลายชั้น รัดชายออกเป็นปลีทางด้านข้างคล้ายชายไหวชายแครง มีผ้าข้าวม้าเคียนเอว หรือพาดบ่า อากาศ หนาว จะสวมเสื้อแขนยาว


ภาพวาดเลียนแบบจากจิตรกรรมฝาพนังวัดภูมินทร์จังหวัดน่าน

การแต่งกายตามแบบสมัยเชียงแสน

สมัยสุโขทัย (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 – 20)
เมื่อครั้งที่ “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้น เป็นราชธานี แห่งอาณาจักร สุโขทัย เมื่อ พ.ศ.1762 ได้มีหัวเมืองต่างๆที่มีคนไทยปกครองก็หันมายอมรับเอากรุงสุโขทัยเป็น ศูนย์กลางอำนาจ ทำให้มีอาณาเขตแผ่กว้างออกไป มีความเจริญก้าวหน้าในทุกด้านทั้ง ศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการ(โอม รัชเวทย์, 2543:44) การแต่งกายของชาวสุโขทัยอาจเทียบเคียง ได้จากภาพเขียนลายเส้นบนแผ่นศิลาจากวัดศรีชุม ภาพลายเส้นบนรอยพระพุทธบาทที่ทำด้วย สำริด รูปหล่อสำริดและตุ๊กตาสังคโลก (คณะอนุกรรมการแต่งกายไทย, 2543: 102-103) ที่แสดง ให้เห็นทั้งทรงผม เสื้อ ผ้าห่ม เครื่องประดับและเครื่องหอม

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง
ผม
ผมยาวเกล้ามวยบนศีรษะ มีพวงดอกไม้หรือพวงมาลัยสวมรอบมวย หรือไว้ผมแสก กลาง รวบผมไว้ท้ายทอย มีเกี้ยวหรือห่วงกลมคล้องตรงที่รวบ
เครื่องประดับ กรองคอ รัดแขน กำไลมือและกำไลเท้า เครื่องปักผมเป็นเข็มเงิน เข็ม ทอง ใส่แหวน รัดเกล้า
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าซิ่นหรือผ้าถุงยาวกรอมถึงข้อเท้า

ภาพเขียนเลียนแบบจาก กรมศิลปากร (2511: 70, 72, 75)
ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย
ผม มุ่นผม หรือปล่อยผมเมื่อยามพักผ่อนอยู่บ้าน
เครื่องประดับ กษัตริย์จะสวมเทริด กำไล เพชร พลอยสี
เครื่องแต่งกาย นุ่งกางเกงครึ่งน่อง แล้วนุ่งผ้าถกเขมร หรือหยักรั้งทับกางเกงอีกที ต่อมาประยุกต์เป็นนุ่งสั้น และทิ้งหางเหน็บ เรียกว่ากระเบนเหน็บ หรือนุ่งแบบโรยเชิง สวมเสื้อ คอ กลมหรือไม่สวม


ภาพเขียนเลียนแบบจาก กรมศิลปากร (2511: 79, 81)


การแต่งกายตามแบบสุโขทัย

สมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310)
การแต่งกายของสมัยอยุธยามีการเปลี่ยนแปลงตามเหตุการณ์บ้านเมือง ซึ่งมี 3 แบบ ดังนี้
1.  การแต่งกายตามกฎมณเฑียรบาล เป็นแบบของเจ้านาย ข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่ ทั้ง ผู้ชายและผู้หญิงตลอดจนพวกมีฐานะจะแต่งตามไปด้วย ผู้หญิงยังมีการเกล้ามวยอยู่
 
2. การแต่งกายแบบชาวบ้าน (ระยะกลางของสมัยอยุธยา) มีการนุ่งโจงกระเบนทางแถบเมืองเหนือ ผู้ชายอาจไว้ผมยาว ส่วนทางใต้ลงมาตัดผมสั้น ลง ครั้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการไว้ผมมหาดไทย ผู้หญิงยังคงไว้ผมยาวนิยมห่มสไบ 
3.ยุคสงคราม (สมัยอยุธยาตอนปลาย) ทั้งผู้ชายและผู้หญิงต้องช่วยกันต่อสู้กับศัตรู ผู้หญิงตัดผมสั้นลง เพื่อปลอมเป็นผู้ชาย และสะดวกในการหลบหนี เสื้อผ้าอาภรณ์จึงตัดทอน ไม่ให้รุ่มร่าม เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่และเคลื่อนไหว มีการห่มผ้าตะเบงมานคือห่มไขว้กัน บริเวณหน้าอกแล้วรวบไปผูกไว้หลังคอ ส่วนผู้ชายไม่มีการเปลี่ยนแปลง (อภิโชค แซ่โค้ว, 2542: 22)
การแต่งกายยุคกรุงศรีอยุธยา จึงแบ่งออกเป็น 4 สมัย ดังนี้ (สมภพ จันทรประภา, 2526: 28)
สมัยที่ 1 พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2031
หญิง
ผม ยังคงเกล้าผม การเกล้ามี 2 แบบ คือ เกล้าไว้ท้ายทอย และเกล้าสูงบน(หนูนหยิก) ศีรษะมีเครื่องประดับเรียกว่า เกี้ยว เป็นเครื่องรัดมวยผม
เครื่องประดับ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู
เครื่องแต่งกาย นุ่งซิ่นจีบหน้า สวมเสื้อ แขนกระบอก คอกลม ผ่าหน้า เสื้อ ยาวเข้ารูป มีผ้าคลุมสะโพกไว้ด้านในของตัวเสื้อ แต่ปล่อยชายออกด้านนอก ต่อมาได้ต่อเข้ากับตัวเสื้อ เป็น ชายเสื้อลงมาอีกทีหนึ่ง

ชาย
ผม มหาดเล็กและคนรับใช้ตัดผมสั้น ชายยังคงเกล้าผมกลางกระหม่อมเช่นเดียวกับ หญิง
เครื่องแต่งกาย นุ่งกางเกงยาวลงมาแค่หน้าแข้ง ปลายขาเรียวเล็กกว่าเดิม นุ่งผ้าหยักรั้ง แบบเขมรซ้อนทับกางเกง ชายผ้ายาวเสมอเข่า ใช้ผ้าคาดเอว สวมเสื้อคอแหลม แขนยาวจรดข้อมือ ผ่าอก สาบซ้ายทับสาบขวา มีผ้ากุ๊นตรงปลายแหลม คอ สาบหน้า และชายเสื้อ
เครื่องประดับ จากหลักฐานการขุดกรุใต้พระปรางค์วัดราชบูรณะพบว่า ส่วนบนของ มงกุฎที่ครอบมวยพระเศียรของกษัตริย์ พาหุรัดหรือทองกร เครื่องประดับศีรษะถักด้วยลวดทองคำ
การแต่งกายสมัยอยุธยา (สมัยที่ 1)
ภาพเขียนเลียนแบบจากพวงผกา คุโรวาท (2535: 55)
สมัยที่ 2 พ.ศ. 2034-2171
หญิง
ผม ตัดผมสั้น หวีเสยขึ้น ไปเป็นผมปีก บ้างก็ยังไว้ผมยาวเกล้าบนศีรษะ เลิกเกล้าเมื่อ พ.ศ. 2112 เพราะต้องทำงานหนักไม่มีเวลาเกล้าผม
เครื่องแต่งกาย นุ่งกางเกงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลมผ่าอก ไม่นิยมสไบ ผู้หญิงชั้น สูงสวมเสื้อคอแหลม มีผ้าคล้องไหล่ 2 ข้าง

การห่มสไบมีหลายแบบ

1.  พันรอบตัวเหน็บทิ้งชาย
2.  ห่มแบบสไบเฉียง คือ พันรอบอก 1 รอบแล้วเฉวียงขึ้นบ่าปล่อยชายไว้ข้างหลังเพียงขาพับ
3. แบบสะพัก สองบ่า ใช้ผ้าพันรอบตัวทับกันที่อกแล้วจึงสะพักไหล่ทั้งสองปล่อยชายไปข้าง หลัง ทั้ง 2 ข้าง
4. แบบคล้องไหล่ เอาชายไว้ข้างหลังทั้งสองชาย
5.แบบคล้องคอห้อยชายไว้ข้างหน้า
6. แบบห่มคลุม
ชาย
ผม ตัดผมสั้น แสกกลาง
เครื่องแต่งกาย นุ่งโจงกระเบน ไม่สวมเสื้อ มีผ้าคล้องไหล่

การแต่งกายสมัยอยุธยา (สมัยที่ 2)
ภาพเขียนเลียนแบบจากพวงผกา กุโรวาท (2535: 56)

สมัยที่ 3 พ.ศ. 2173 – พ.ศ. 2275
หญิง
ผม สตรีในสำนักไว้ผมแบบหญิงพม่าและล้านนาไทย คือ เกล้าไว้บนกระหม่อมแล้ว คล้องด้วยมาลัย ถัดลงมาปล่อยผมสยายยาว ส่วนหญิงชาวบ้านตัดผมสั้น ตอนบนแล้วถอนไรผม รอบ ๆ ผมตอนที่ถัดลงมาไว้ยาวประบ่า เรียกว่า “ผมปีกบางคนโกนท้ายทอย คนรุ่นสาวไว้ผม ดอกกระทุ่มไม่โกนท้ายทอยปล่อยยาวเป็นรากไทร

การแต่งกาย หญิงในราชสำนักนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อ ผ่าอก คอแหลม (เดิมนิยม คอกลม) แขนกระบอกยาวจรดข้อมือหญิงชาวบ้านนุ่งผ้าจีบห่มสไบ มี 3 แบบ คือ รัดอก สไบเฉียง และห่ม ตะเบงมาน (ห่มไขว้กันแล้วรวบไปผูกไว้หลังคอ) เหมาะสำหรับเวลาทำงาน บุกป่า ออกรบ

เครื่องประดับ ปักปิ่นทองที่มวยผม สวมแหวนหลายวง สร้อยคอ สร้อยข้อมือ

การแต่งหน้า หญิงชาววัง ผัดหน้า ย้อมฟัน และเล็บเป็นสีดำ ไว้เล็บยาวทางปากแดง หญิงชาวบ้าน ชอบประแป้งลายพร้อย ไม่ไว้เล็บ ไม่ทาแก้ม ปาก

ชาย
ผม ตัดสั้น ทรงมหาดไทย (คงไว้ตอนบนศีรษะรอบๆ ตัดสั้น และโกนท้ายทอย)

การแต่งกาย นุ่งโจงกระเบน ใช้ผ้าขาวม้าคล้องคอ แล้วตลบไปห้อยชายไว้ทางด้านหลัง สวมเสื้อคอกลม ผ่าอกแขนยาวจรดข้อมือ ในงานพิธีสวม เสื้อ ยาวถึงหัวเข่า ติดกระดุม ด้านหน้า 8 – 10 เม็ด แขนเสื้อ กว้าง และสั้น มาก ไม่ถึงศอก นิยมสวมหมวกแบบต่างๆ ขุนนางจะสวม ลอมพอกยอดแหลม ไปงานพิธีจะสวมรองเท้าแตะปลายแหลมแบบแขกมัวร์
การแต่งกายสมัยอยุธยา(สมัยที่ 3)
ภาพเขียนเลียนแบบจากพวงผกา คุโรวาท (2535: 58,60)
สมัยที่ 4 พ.ศ. 2275 ถึง พ.ศ. 2310
หญิง การแต่งผม มี 3 แบบ คือ
1.  ทรงผมมวยกลางศีรษะ
2.  ทรงผมปีกมีจอนผม
3. ทรงหนูนหยิกรักแครง (เกล้าพับสองแล้วเกี้ยว กระหวัดไว้ที่โคน รักแครง เกล้า ผมมวยกลมเฉียงไว้ด้านซ้ายหรือขวา)
4. ทรงผมประบ่า มักจะรวมผมปีกและผมประป่าอยู่ในทรงเดียวกันและผมปีกทำ เป็นมวยด้วย
เครื่องประดับ นิยมสวมเทริด สวมกำไลข้อมือหลายอัน มีสร้อยข้อมือที่ใหญ่กว่าสมัยใด สร้อยตัวสวมเฉียงบ่ามีลวดลายดอกไม้ สิ่งที่ใหม่กว่าสมัยใดคือ สวมแหวนก้อยชนิดต่าง ๆ และ แหวนงูรัดต้นแขน

การแต่งหน้าแต่งตัว ทาขมิ้น ให้ตัวเหลืองดังทอง ผัดหน้าขาว ย้อมฟันดำ ย้อมนิ้ว และเล็บด้วยดอกกรรณิการ์ให้สีแดง

การแต่งกาย ของคนชั้น สูงนุ่งซิ่นยก จีบหน้า ห่มตาด สวมเสื้อริ้วทอง (ทำด้วยผ้าไหม สลับด้วยเส้นทองแดง) ห่มสไบ ชาวบ้านท่อนบนคาดผ้าแถบหรือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบนหรือ ผ้าถุง

การห่มสไบมี 2 แบบ คือ

1. ห่มคล้องคอตลบชายไปข้างหลังทั้ง 2 ข้าง กันบนเสื้อ ริ้วทอง และใช้เจียระบาด (ผ้าคาดพุง) คาดทับเสื้อปล่อยชายลงตรงด้านหน้า
2.  ห่มสไบเฉียงไม่ใส่เสื้อเมื่ออยู่กับบ้าน
ชาย 
ผม ไว้ทรงมหาดไทย ทาน้ำมันหอม

การแต่งกาย สวมเสื้อคอกลมสวมศีรษะ แขนยาวเกือบจรดศอก มีผ้าห่มคล้องคอแล้ว ตลบชายทั้งสองไปข้างหลัง นุ่งโจงกระเบน ส่วนเจ้านายจะทรงสนับเพลาก่อน แล้วทรงภูษา จีบโจง มีไหมถักรัดพระองค์ แล้วจึงทรงฉลองพระองค์ คาดผ้าทิพย์ทับฉลองพระองค์อีกที

การแต่งกายสมัยอยุธยา สำหรับผู้ที่สนใจควรศึกษาลายละเอียดเพิ่มเติมจากหนังสือ อยุธยาอาภรณ์ ของสมภพ จันทรประภา 2526 และการแต่งกายไทย : วิวัฒนาการจากอดีตสู่ ปัจจุบัน 1 สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ 2543 จะได้ลายละเอียดเพิ่มเติม


การแต่งกายสมัยอยุธยา (สมัยที่ 4)
ภาพเขียนเลียนแบบจากพวงผกา คุโรวาท

Cr. สัญลักษณ์ประจำชาติไทย by http://www.dhammathai.org/thailand/thaisign.php